หมู่บ้านสุดแปลก บ.ตาล ต.นาหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม



หมู่บ้านสุดแปลกหนึ่งเดียวนครพนม ทำไส้เดือน ปลิง ตุ๊กแก ตากแห้ง ส่งออกเดือนละกว่า10ล้าน

ที่บ้านตาล อ.นาหว้า จ.นครพนม  เป็นหมู่บ้านแห่งเดียวของนครพนม ที่ได้รับการกล่าวขานเกี่ยวกับอาชีพสุดแปลก   เนื่องจากชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งนี้ได้มีอาชีพที่ไม่มีใครเหมือน  และไม่เหมือนใคร  เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่กว่า 200  ครอบครัว จะมีรายได้หลักจากอาชีพ นำไส้เดือน  ปลิง  จิ้งจก  และตุ๊กแก  มาตากแห้งส่งออกไปขายต่างประเทศ  สร้างรายได้มายาวนานกว่า 20  ปี   จนได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านอาชีพแปลก 
การทำอาชีพแปลกหมุนเวียนไปตามฤดูกาล  เริ่มจากฤดูหนาวจะเก็บไส้เดือนมาแปรรูปตากแห้ง ขายราคากิโลกรัมละประมาณ  5080 บาท  ส่วนฤดูร้อนจะเป็นคิวของตุ๊กแก  กับ จิ้งจก  เพราะเป็นช่วงหลังการผสมพันธุ์  ก่อนจับนำมาชำแหละแปรรูป  ตากแห้งขาย ตัวละประมาณ  50100 บาท   ตามขนาด  และฤดูฝนก็จะนำปลิงมาตากแห้งส่งขายกิโลกรัมละประมาณ  100150 บาท
สร้างรายได้หมุนเวียนตลอดปี ตกเดือนละประมาณกว่า 10  ล้านบาท  ซึ่งภายในหมู่บ้านจะทำเป็นธุรกิจครบวงจรตั้งแต่รับซื้อจนถึงเปิดเป็นแหล่งแปรรูป  สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน  ได้เป็นอย่างดี  โดยไม่สนใจว่าเศรษฐกิจจะตกต่ำ ทำให้ชาวบ้านในหมู่บ้านแต่ละครอบครัว  มีรายได้จากอาชีพแปลกไม่ต่ำกว่าเดือนละ 5,000-10,000  บาท
นายปราณีต  นางทราช อายุ 50 ปี  ชาวบ้านตาล อ.นาหว้า จ.นครพนม ที่ยึดอาชีพทำตุ๊กแกตากแห้งส่งออก กล่าวว่า  ชาวบ้านทำตุ๊กแก ไส้เดือน ปลิง ตากแห้ง มานานกว่า 20 ปี แล้ว  หลังจากมีชาวไต้หวันเข้ามาติดต่อรับซื้อก็ทำกันมาถึงปัจจุบัน   ถือว่าเป็นอาชีพที่สร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับชาวบ้านเป็นอย่างดี  ไม่ว่าจะสภาพเศรษฐกิจจะซบเซา  หรือเกิดปัญหาจากสภาพแวดล้อม ภัยแล้ง  น้ำท่วม ก็ไม่มีผลกระทบกับชาวบ้านที่ยังมีรายได้หลักจากอาชีพนี้  ซึ่งจะทำหมุนเวียนไปตามฤดูกาล
 ช่วงที่ทำเงินมากที่สุดจะเป็นหน้าร้อน  จะเป็นตุ๊กแกตากแห้ง  ทำให้ทุกคนมีรายได้  ตั้งแต่คนที่ออกไปจับมาขายตามขนาดตัวละประมาณ 10 - 25 บาท  ขายให้กับชาวบ้านที่ทำชำแหละแปรรูปเพื่อนำไปตากแห้งหรืออบ ก่อนแพ็กนำส่งขายให้พ่อค้าส่งออกไปจีน ไต้หวัน นำไปปรุงอาหาร เป็นยาชูกำลัง ในราคาตัวละประมาณ 30 บาท แบ่งตามขนาดเล็กหรือใหญ่ ยอดส่งออกเดือนละหลายแสนตัว  มีเงินสะพัดหมุนเวียนกว่า 10 ล้านบาทต่อเดือน ถือเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านเป็นอย่างดี  ตกครอบครัวละ 5,00010,000 บาทต่อเดือน
นายปราณีต  นางทราช กล่าวอีกว่า ปัญหาสูญพันธุ์ของตุ๊กแกนั้นไม่มีอย่างแน่นอน เพราะในระยะเวลา 1 ปี จะมีช่วงพักประมาณเดือนตุลาคม-มกราคม  ช่วงตุ๊กแกผสมพันธุ์ออกไข่ ซึ่งธรรมชาติของตุ๊กแกขยายพันธุ์ได้เร็ว และมีจำนวนมาก พอเข้าสู่ฤดูฝนชาวบ้านก็จะไปทำปลิงตากแห้งแทน และฤดูหนาวก็จะเป็นคิวของไส้เดือน หมุนเวียนไปตลอดปี และก็ไม่มีปัญหาทางกฎหมาย เพราะตุ๊กแกที่ชาวบ้านจับมาเป็นตุ๊กแกตามบ้านเรือน ไม่ใช่ตุ๊กแกป่า จึงไม่ผิดตามพ.ร.บ.สัตว์ป่าหวงห้ามในอนาคตกำลังหาทางเลี้ยงขยายพันธุ์เป็นสัตว์เศรษฐกิจสร้างรายได้
 ด้านนายวศิษฐ์ อนันต์วรปัญญา นายอำเภอนาหว้าจ.นครพนม กล่าวว่า  ชาวบ้านตาล ต.นาหว้า อ.นาหว้า  ถือเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด มีรายได้จากอาชีพแปลก มีเงินหมุนเวียนหลาย 10 ล้านบาทต่อเดือน  ถึงแม้บางช่วงจะมีปัญหาภาวะเศรษฐกิจ ที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้านหลายพื้นที่ แต่ชาวบ้านที่นี่ไม่ได้รับผลกระทบ เพราะทำตุ๊กแก ไส้เดือน และปลิง ตากแห้ง ส่งขายต่างประเทศ สร้างเงินหมุนเวียนเดือนละกว่า 10 ล้าน ได้ตลอดปี โดยทางอำเภอได้เข้าไปดูแลส่งเสริม สนับสนุนบางส่วน ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพที่สร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก กลายเป็นอาชีพหลักแทนการเกษตรเลยทีเดียว

อาชีพปริศนาตุ๊กแกตากแห้ง บ้านตาล อ.นาหว้า จ.นครพนม
ธุระกิจการส่งออกตุ๊กแกมีชีวิต กำลังเป็นที่เฟื่องฟูที่ อ.นาหว้า จ.นครพนม เนื่องจากสามารถสร้างรายได้อย่างงดงาม ถึงขนาดจัดหาตุ๊กแกให้ลูกค้าไม่ทันจนต้องเอารถมาจอดรอรับสินค้าถึงแหล่งผลิต กันเลยทีเดียว
นายพล น้อยนาง อายุ 40 ปี ชาวบ้านนาหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม ซึ่งมีอาชีพค้าตุ๊กแกมากว่าสิบปีเปิดเผยว่า แรก ๆ การทำตุ๊กแกจะทำตามออร์เดอร์ของเฒ่าแก่ที่มารับซื้อ โดยจะเป็นการชำเหละตุ๊กแกแล้วอบให้แห้งก่อนจะส่งไปขาย โดยตลาดรับซื้อจะเป็นจีนและไต้หวันแต่ต่อมาเมื่อไม่นานมานี้ได้มีนายทุนชาว เวียตนามเข้ามาถึงหมู่บ้านแล้วได้เปลี่ยนแนวการค้าใหม่ โดยเน้นรับซื้อตุ๊กแกตัวเป็น ๆ เท่านั้น ซึ่งราคาที่รับซื้อก็ใกล้เคียงกันกับการชำแหละแล้วอบแห้ง ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้านเป็นอย่างมาก จนปัจจุบันการทำตุ๊กแกตากแห้งเริ่มลดน้อยลงเนื่องจากต้องใช้แรงงานมากกว่า โดยตุ๊กแกสดที่รับซื้อไปนั้นส่วนใหญ่จะนำไปประกอบอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกส่งไปยังเวียดนามและประเทศจีน
การขายตุ๊กแกสด ๆ ทำกันง่าย ๆ เพียงแค่คัดขนาดตุ๊กแกให้อยู่ในกลุ่มที่ใกล้เคียงกันแล้วก็นับตัวขายกันเลย สนนราคาก็ตกตัวละ 30 -40 บาท ล็อตหนึ่งจะส่งประมาณ 3 หมื่นถึง 4 หมื่นตัว อาทิตย์หนึ่งสามารถทำได้เพียง 1 ถึง 3 เที่ยว เนื่องจากต้องรวบรวมและคัดแยกตุ๊กแกที่ตระเวนรับซื้อตามหมู่บ้านต่าง ๆ ทั่วภาคอิสาน ทั้งที่หากมีสินค้าสามารถส่งขายได้ทุกวันเลยทีเดียว เมื่อถามถึงรายได้ นายพล เปิดเผยว่า ปกติจะรับซื้อตุ๊กแกจากชาวบ้านตามขนาด ตั้งแต่ตัวเล็ก ๆ ก็ประมาณ 10บาท ขนาดใหญ่ขึ้นมาก็ไม่เกิน 20 บาทส่วนต่างราคาขายก็จะเป็นกำไรพอเลี้ยงครอบครัวได้อย่างสบาย ตัวอย่างเช่นหากงวดนี้โชคดีได้ตุ๊กแกขนดใหญ่จานวนมากก็จะได้กำไรหลังจากหัก ค่าใช้จ่ายแล้วตัวละ 5 - 10 บาท เดือนหนึ่งส่งออกได้หนึ่งเที่ยวก็อยู่ได้แล้ว ซึ่งปัจจุบัน พ่อค้าที่รับซื้อบางรายเกรงว่าจะไม่ได้ของถึงขนาดลงทุนว่าจ้างรถบรรทุกจาก ประเทศลาวมาจอกรอรับของกันเลยก็มี ทำให้ช่วงนี้การส่งออกตุ๊กแกสามารถสร้างรายได้ให้แก่ชาว บ้านนาหว้าอย่าง งามเลยทีเดียว

จับตุ๊กแกขาย เป็นอาชีพเสริม รายได้ดี


ชาวบ้านหันมาประกอบอาชีพ จับตุ๊กแกขาย ช่วงหน้าแล้ง นำไปอบแห้งส่งต่อไปขายยังต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นยาชูกำลัง สร้างรายได้ดี เป็นอาชีพเสริม
 เรื่องราวของชาวบ้านที่หันมาประกอบอาชีพจับตุ๊กแกขาย ช่วงหน้าแล้งสร้างรายได้เป็นกอบ เป็นกำ เปิดเผยว่า ที่หมู่บ้านบ้านตาล หมู่ 15 ต.นาหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม ขณะนี้ชาวบ้านออกจับตุ๊กแกและจิ้งจกส่งขายให้กับพ่อค้า ก่อนนำไปอบแห้งส่งต่อไปขายยังต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นยาชูกำลัง เนื่องจากช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน เป็นช่วงที่ตุ๊กแกและจิ้งจกผสมพันธุ์ ทำให้สามารถจับตุ๊กแกและจิ้งจกได้เป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ นายประสิทธิ์ ลาสุด อายุ 67 ปี ชาวบ้านบ้านตาล ที่ยึดอาชีพรับซื้อตุ๊กแกและจิ้งจกมาอบแห้ง เปิดเผยว่า ปกติชาวบ้านบ้านตาลจะประกอบอาชีพจับสัตว์ในท้องถิ่นขายตามฤดูกาล โดยช่วงฤดูฝนจะจับปลิงอบแห้งขาย ฤดูหนาวจับ ไส้เดือนขาย ส่วนช่วงฤดูร้อนจะมีรายได้ จากการจับตุ๊กแกและจับจิ้งจกขาย ทำให้ช่วงนี้ชาวบ้านแถบนี้ที่ไม่สามารถทำการเกษตรหันไปทำอาชีพเดินสาย จับตุ๊กแกขายแทน เพราะสร้างรายได้ดีมาก
นายประสิทธิ์กล่าวว่า ฤดูร้อนเป็นฤดูกาลผสมพันธุ์ของตุ๊กแก ทำให้ตุ๊กแกที่อาศัยอยู่ตามบ้านเรือน หรือตามต้นไม้ออกมาผสมพันธุ์ส่งเสียงร้องหาคู่ ชาวบ้านเลยออกจับขายได้มาก บางกลุ่มถึงกับออกหากันนอกพื้นที่ต่างจังหวัด โดยวิธีจับจะทำบ่วงผูกกับไม้ยาวไปคล้องตุ๊กแก ส่วนราคาตุ๊กแกจะรับซื้อตัวละ 15-20 บาท แล้วแต่ขนาด
ส่วนจิ้งจกรับซื้อตัวละ 50 สตางค์ จากนั้นนำตุ๊กแกมาชำแหละเอาเครื่องในออก เสร็จแล้วใช้ไม้หนีบกางขาตุ๊กแกทั้ง 4 ข้างแผ่ออก นำเข้าห้องอบแห้งด้วยวิธี รมควันใช้เวลาประมาณ 1 คืน แต่หากเป็นพวกที่มีทุนมากก็จะใช้เครื่องอบ
จากนั้นส่งขายให้กับนายทุนตัวละ 30-80 บาท โดยนายทุนจะนำบรรจุใส่กล่อง ลงเรือที่กรุงเทพฯ ส่งไปขายที่ ประเทศจีนและ ไต้หวัน ที่มีความเชื่อว่าตุ๊กแกและจิ้งจกเป็นยาโด๊ปชั้นดี
ช่วงเดือนที่ผ่านมาชาวบ้านมีรายได้จากการจับตุ๊กแกขายตกครอบครัวละ 30,000-50,000 บาทเลยทีเดียว โดยพื้นที่อำเภอนาหว้าพบว่า มีการส่งตุ๊กแกอบแห้งไปขายประมาณ 100,000 ตัว ส่งผลให้เงินสะพัดหมุนเวียนเข้าอำเภอได้เป็นอย่างดี ชาวบ้านไม่ต้องไปทำงานต่างจังหวัดพ่อค้าตุ๊กแกอบแห้งกล่าว



2 ความคิดเห็น:

  1. ติดต่อชาวบ้านได้ทางไหนบ้างคะ พอดีอยากทราบราคาส่งค่ะ

    ตอบลบ
  2. จับหาใส่เดือนส่งได้ที่ไหนครับ
    อยากหาส่งตลาดครับผม

    ตอบลบ